เอฟฟลอเรสเซนซ์ (efflorescence)

เอฟฟลอเรสเซนซ์ ส่วนใหญ่รู้จักกันในฐานะคราบสกปรกที่เกิดจากความชื้นบนพื้นหิน เซรามิค และพื้นปูน ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักคราบสกปรกนี้ดี แต่มีจำนวนคนไม่มากนัก ที่รู้ถึงกระบวนการและสาเหตุของการเกิดคราบสกปรกนี้ว่ามีกระบวนการและสาเหตุเป็นอย่างไร และคนส่วนใหญ่ยังคิดอีกว่า คราบสกปรกนี้สามารถทำความสะอาดได้ไม่ยากและสามารถขจัดออกได้ทุกเวลา

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดคราบสกปรกชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากสารประกอบอัลคาไลน์ที่ถูกปล่อยออกมาหากมีน้ำเป็นตัวกลาง เนื่องจากงานปูพื้นหินแต่ละครั้งนั้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงขั้นตอนใดได้เลย ที่จะไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการเทปูน หรือแม้กระทั่งการทำความสะอาด หลังการเสร็จสิ้นงานปูพื้น ดังนั้นจึงทำให้น้ำที่ใช้ในขั้นตอนดังกล่าวค่อยๆ ซึมผ่านพื้นผิวหน้าหินลงไปสู่ชั้นของปูนที่เทไว้ และตามร่องยาแนว ในขณะที่น้ำค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปนี้เอง น้ำจะเป็นตัวเหนี่ยวสารประกอบอัลคาไลน์ไปด้วย และค่าความเป็นกรด-เบส หรือค่าพีเอช (ph) ในตัวของน้ำเองจะค่อยๆ แปรสภาพสารประกอบ อัลคาไลน์ให้เป็นอัลคาไลน์

ธรรมชาติทางเคมีของคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์

ในหลายๆ ตัวอย่างของเอฟฟลอเรสเซนซ์ตรวจพบว่ามีสารประกอบที่มีความเค็ม หลายชนิดอยู่ในคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

โซเดียมซัลเฟต โปแตสเซียมซัลเฟต โซเดียมคาร์บอเนต แคลเซียมซัลเฟต โซเดียมไบคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนต โซเดียมซิลิเคต แมกเนเซียมซัลเฟต

น้ำที่มีสภาพเป็นอัลคาไลน์ สามารถร่องลอยไปได้ระยะไกลตามอากาศ แม้กระทั่งบริเวณที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำโดยตรงยังสามารถเกิดคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์นี้ได้ ขณะที่น้ำระเหยนั้น สภาพอัลคาไลน์ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัจจัยผันแปรการอิ่มตัวขึ้น

เช่นเดียวกับคราบสกปรก เอฟฟลอเรสเซนซ์ที่พบโดยทั่วไป (สภาพการอิ่มตัว) ที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่าสามารถขจัดออกได้ทุกเวลา เนื่องจากมีสภาพเฉื่อยนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด เพราะคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่เกิดขึ้นนั้น ควรได้รับการทำความสะอาดทันที หากสะสมไว้นานๆ จะทำให้การขจัดคราบออกได้ยากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการ หรือขั้นตอนนต่างๆ ที่จะสามารถช่วยลดโอกาสการก่อสารประกอบอัลคาไลน์ ควรได้รับการนำมาปฎิบัติร่วมด้วย

การเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่ทำให้เกิดจุดเปียกชื้นโดยทั่วไป มักพบในหินประเภทแกรนิต หินอ่อน และหินปูน ความชื้นที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากวัสดุ ที่ใช้ในงานปูพื้น ชั้นพื้นปูน รวมถึงฐานพื้นชั้นล่าง และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคราบ เอฟฟลอเรสเซนซ์ คือ เมื่อแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ส่งผลทำให้เกิดการก่อตัวขึ้น ของแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีคุณสมบัติไม่สามารถละลายได้ ผลจากการทำปฎิกิริยาดังกล่าวนี้ มีแนวโน้มว่า เป็นตัวที่ไปอุดร่องรูพรุนของพื้นผิวหน้าหิน และร่องยาแนว อันเป็นเหตุให้ความชื้นที่อยู่ใต้พื้นผิว ไม่สามารถผ่านขึ้นมาได้ จึงเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ ที่มีลักษณะคล้ายจุดดวงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสารประกอบอัลคาไลน์ที่เกิดจากสภาพการอิ่มตัวในระดับต่ำ ทำให้คราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ ไม่สามารถก่อตัวได้อย่างสมบูรณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ความชื้นถูกดักไว้ใต้พื้นผิว

การขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ด้วยสารเคมีที่ไวต่อพื้นผิวก็นับว่ายากมาก ฉะนั้นจำเป็นต้อง ปรับสภาพพื้นผิวหน้าหินใหม่ทั้งหมด

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งจากสารประกอบอัลคาไลน์ แต่มีผลกระทบน้อยกว่ากรณีแรกนั้นก็คือ มีผลเอื้อต่อการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย สารประกอบที่มีความเค็ม มีความสามารถสูงต่อการดูดซับความชื้นในอากาศ ยิ่งความชื้นสัมพัทธ์ สูงมากเพียงใด เกลือยิ่งสามารถอิ่มตัวมากเพียงนั้น จนในที่สุดเกล็ดเกลือจะอยู่ในสภาพอิ่มตัว ทำให้เกล็ดเกลือที่มีสภาพเป็นผลึกใส กลายสภาพเป็นของเหลวในที่สุด จากนั้นเกลือจะซึมแทรกเข้าสู่พื้นหิน เพื่อก่อเชื้อโรคในบริเวณต่างๆ และความสามารถในการดูดซับความชื้นจากอากาศ ถือเป็นการยืดเวลาให้พื้นหินมีความชื้นนานขึ้น เมื่อพื้นหินสะสมความชื้นไว้มากๆ ยิ่งส่งผลให้เกิด การเจริญเติบโตของแบคทีเรียมากขึ้นตาม แม้ในอากาศแห้งและอากาศชื้น ด้วยสาเหตุนี้ยิ่งทำให้เกิด คราบเอฟฟลอเรศเซนซ์มากขึ้น และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ยิ่งมากขึ้นเท่าเพียงใด การเจริญเติบโตของแบคทีเรียก็มากขึ้นเพียงนั้น

อีกอย่างหนึ่งหากพื้นหินมีรอยแตกร้าว นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อกระบวนการขัดพื้นหิน และทำให้ดูเหมือนว่าพื้นหินนั้น ไม่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ดังที่ทราบกันแล้วว่าสารประกอบอัลคาไลน์ (รวมถึงน้ำฝนขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช (ph) เป็นตัวก่อปัญหาใหญ่สำหรับพื้นหินที่ปูไว้ ดังนั้นจำเป็นต้องขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ทันที วิธีการโดยพื้นฐานสำหรับทำความสะอาด ด้วยการใช้กรดนั้น ดังที่กล่าวไว้ในรายละเอียดการเกิดคราบน้ำปูน ส่วนใหญ่รอยด่าง “สีน้ำตาล” สารเคมีที่คุณสมบัติเป็นกรดนั้นไม่ส่งผลใดๆ ในการทำความสะอาด สำหรับปัญหาเหล่านี้ การขจัดคราบด้วยเครื่องจักรกลเท่านั้น ที่จะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาได้

อันที่จริงแล้วปัญหาต่างๆ ของสภาพอัลคาไลน์และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์นั้นก็คือ ทั้งสภาพอัลคาไลน์และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่อาจใช้ลด การก่อตัวของสภาพดังกล่าวและสามารถแก้ปัญหาได้ กล่าวโดยย่อคือ กระบวนการใดก็ตามที่สามารถ ลดปริมาณน้ำได้ในการปฏิบัติงานจะช่วยลดปัญหานี้ได้อีกระดับหนึ่ง หรือไม่ว่าจะเป็นการใช้ลาเท็กซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติการเกาะยึดในขั้นตอนของการยาแนวและการเทพื้นปูน แผ่นเยื่อกันน้ำ ทรายล้าง วัสดุกั้นการระเหยของน้ำ หรือรวมถึงน้ำยาซีลเลอร์

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการออกแบบ เช่น ชั้นรองพื้นผิว ท่อราง ฯลฯ ที่ช่วยหลีกเลี่ยงการการไหลผ่านของน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำสามารถซึมผ่านพื้นผิวได้ ก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากจะช่วยลดปริมาณน้ำที่อุ้มอัลคาไลน์ไว้ ซึ่งถือเป็นต้นตอของปัญหานี้ น้ำยาซีลเลอร์มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปัญหา แต่มิใช่การระงับปัญหา ปริมาณที่จะซึมเข้าสู่พื้นหิน การเคลือบน้ำยาซีลเลอร์ให้ครบทั้งหกด้านมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่า การทาเพียงด้าน และในการทาน้ำยาซีลเลอร์ ไม่ส่งผลกระทบต่อการเหนี่ยวของแผ่นหินกับปูน หรือปูนกาว น้ำยาซีลเลอร์มีคุณสมบัติในการถ่ายโอนไอน้ำได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นการเคลือบน้ำยาซีลเลอร์จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้มากทีเดียว

ดังนั้นน้ำยาซีลเลอร์นับเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยลดปัญหาการเกิดคราบ จากสารประกอบอัลคาไลน์ อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้เกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ได้ ด้วยการทำให้ปริมาณน้ำที่จะซึมแทรกเข้าสู่พื้นหิน อิฐ กระเบื้อง ให้มีระดับปริมาณที่น้อยที่สุด นั่นก็คือ การใช้แผ่นเยื่อกันน้ำ การทาลาเท็กซ์ตามรอยแตกของพื้นหินและตามร่องยาแนวให้เรียบร้อย เพราะลาเท็กซ์มีคุณสมบัติในการทำให้พื้นหิน สามารถยืดหยุ่นจากการขยายตัว หดตัวของแผ่นหินได้ อย่างเหมาะสม และวิธีสุดท้ายของการป้องกันนั้น คือการใช้น้ำยาซีลเลอร์ที่มีคุณภาพ เพราะน้ำยาซีลเลอร์ที่มีคุณภาพสามารถสูดดมได้และช่วยลดปริมาณน้ำที่จะซึมเข้าสู่ระบบได้เป็นอย่างดี และนั่นย่อมหมายถึงการป้องกันไม่ให้การเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ เนื่องจากน้ำเป็นสาเหตุของปัญหา ดังนั้นปัญหาต่างๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากเราหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู้พื้นหิน เมื่อน้ำไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู้พื้นหินได้ ความชื้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการดังต่อไปนี้ ควรได้รับการนำไปปฏิบัติในการทำความสะอาดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ และลดโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านเข้าสู่พื้นหิน เราใคร่ขอแนะนำในการดูแลบำรุงรักษาประจำวันนั้น ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหิน มาสเตอร์ สโตน คลีนเนอร์ กับไม้ถูสังเคราะห์ หรือการฉีดสเปรย์ เพื่อขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่เกิดขึ้นซ้ำอีก (ขั้นตอนในช่วงแรกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก) น้ำยาทำความสะอาดชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นกลางด้วยค่าพีเอช (ph) 7.2 นี้จะช่วยปรับสภาพของอัลคาไลน์ ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกนั้น ให้มีสภาพเป็นกลาง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.master.co.th หรือTel. 0 2791 3845 ลิขสิทธิ์ของ Master Resources Co.Ltd

(หมายเหตุ : สภาพเฉื่อย ขยายความได้ว่า “จากกฎการเคลื่อนที่ ข้อที่ 1 คือ ถ้าไม่มีแรงมากระทำกับวัตถุ วัตถุก็จะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมของมันไว้ กล่าวคือ หากเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ หรือถ้าหยุดนิ่งมันก็จะหยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 คือ แรงกับการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ กล่าวคือ หากมีแรงมากระทำสภาพการเคลื่อนที่นี้ก็จะเปลี่ยนหากมีค่ามวลมากสภาพการเคลื่อนที่มาก การที่จะทำให้เปลี่ยนความเร็วก็ต้องใช้แรงมาก ถ้ามวลมากก็ทำให้เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ยาก)

เอฟฟลอเรสเซนซ์ ส่วนใหญ่รู้จักกันในฐานะคราบสกปรกที่เกิดจากความชื้นบนพื้นหิน เซรามิค และพื้นปูน ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักคราบสกปรกนี้ดี แต่มีจำนวนคนไม่มากนัก ที่รู้ถึงกระบวนการและสาเหตุของการเกิดคราบสกปรกนี้ว่ามีกระบวนการและสาเหตุเป็นอย่างไร และคนส่วนใหญ่ยังคิดอีกว่า คราบสกปรกนี้สามารถทำความสะอาดได้ไม่ยากและสามารถขจัดออกได้ทุกเวลา

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดคราบสกปรกชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากสารประกอบอัลคาไลน์ที่ถูกปล่อยออกมาหากมีน้ำเป็นตัวกลาง เนื่องจากงานปูพื้นหินแต่ละครั้งนั้น เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงขั้นตอนใดได้เลย ที่จะไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการเทปูน หรือแม้กระทั่งการทำความสะอาด หลังการเสร็จสิ้นงานปูพื้น ดังนั้นจึงทำให้น้ำที่ใช้ในขั้นตอนดังกล่าวค่อยๆ ซึมผ่านพื้นผิวหน้าหินลงไปสู่ชั้นของปูนที่เทไว้ และตามร่องยาแนว ในขณะที่น้ำค่อยๆ ซึมผ่านเข้าไปนี้เอง น้ำจะเป็นตัวเหนี่ยวสารประกอบอัลคาไลน์ไปด้วย และค่าความเป็นกรด-เบส หรือค่าพีเอช (ph) ในตัวของน้ำเองจะค่อยๆ แปรสภาพสารประกอบ อัลคาไลน์ให้เป็นอัลคาไลน์

ธรรมชาติทางเคมีของคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์

ในหลายๆ ตัวอย่างของเอฟฟลอเรสเซนซ์ตรวจพบว่ามีสารประกอบที่มีความเค็ม หลายชนิดอยู่ในคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

โซเดียมซัลเฟต โปแตสเซียมซัลเฟต โซเดียมคาร์บอเนต แคลเซียมซัลเฟต โซเดียมไบคาร์บอเนต แคลเซียมคาร์บอเนต โซเดียมซิลิเคต แมกเนเซียมซัลเฟต

น้ำที่มีสภาพเป็นอัลคาไลน์ สามารถร่องลอยไปได้ระยะไกลตามอากาศ แม้กระทั่งบริเวณที่ไม่ได้สัมผัสกับน้ำโดยตรงยังสามารถเกิดคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์นี้ได้ ขณะที่น้ำระเหยนั้น สภาพอัลคาไลน์ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัจจัยผันแปรการอิ่มตัวขึ้น

เช่นเดียวกับคราบสกปรก เอฟฟลอเรสเซนซ์ที่พบโดยทั่วไป (สภาพการอิ่มตัว) ที่คนส่วนใหญ่ เข้าใจว่าสามารถขจัดออกได้ทุกเวลา เนื่องจากมีสภาพเฉื่อยนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด เพราะคราบสกปรกเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่เกิดขึ้นนั้น ควรได้รับการทำความสะอาดทันที หากสะสมไว้นานๆ จะทำให้การขจัดคราบออกได้ยากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการ หรือขั้นตอนนต่างๆ ที่จะสามารถช่วยลดโอกาสการก่อสารประกอบอัลคาไลน์ ควรได้รับการนำมาปฎิบัติร่วมด้วย

การเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่ทำให้เกิดจุดเปียกชื้นโดยทั่วไป มักพบในหินประเภทแกรนิต หินอ่อน และหินปูน ความชื้นที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากวัสดุ ที่ใช้ในงานปูพื้น ชั้นพื้นปูน รวมถึงฐานพื้นชั้นล่าง และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคราบ เอฟฟลอเรสเซนซ์ คือ เมื่อแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ส่งผลทำให้เกิดการก่อตัวขึ้น ของแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีคุณสมบัติไม่สามารถละลายได้ ผลจากการทำปฎิกิริยาดังกล่าวนี้ มีแนวโน้มว่า เป็นตัวที่ไปอุดร่องรูพรุนของพื้นผิวหน้าหิน และร่องยาแนว อันเป็นเหตุให้ความชื้นที่อยู่ใต้พื้นผิว ไม่สามารถผ่านขึ้นมาได้ จึงเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ ที่มีลักษณะคล้ายจุดดวงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสารประกอบอัลคาไลน์ที่เกิดจากสภาพการอิ่มตัวในระดับต่ำ ทำให้คราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ ไม่สามารถก่อตัวได้อย่างสมบูรณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ความชื้นถูกดักไว้ใต้พื้นผิว

การขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ด้วยสารเคมีที่ไวต่อพื้นผิวก็นับว่ายากมาก ฉะนั้นจำเป็นต้อง ปรับสภาพพื้นผิวหน้าหินใหม่ทั้งหมด

สาเหตุอีกอย่างหนึ่งจากสารประกอบอัลคาไลน์ แต่มีผลกระทบน้อยกว่ากรณีแรกนั้นก็คือ มีผลเอื้อต่อการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย สารประกอบที่มีความเค็ม มีความสามารถสูงต่อการดูดซับความชื้นในอากาศ ยิ่งความชื้นสัมพัทธ์ สูงมากเพียงใด เกลือยิ่งสามารถอิ่มตัวมากเพียงนั้น จนในที่สุดเกล็ดเกลือจะอยู่ในสภาพอิ่มตัว ทำให้เกล็ดเกลือที่มีสภาพเป็นผลึกใส กลายสภาพเป็นของเหลวในที่สุด จากนั้นเกลือจะซึมแทรกเข้าสู่พื้นหิน เพื่อก่อเชื้อโรคในบริเวณต่างๆ และความสามารถในการดูดซับความชื้นจากอากาศ ถือเป็นการยืดเวลาให้พื้นหินมีความชื้นนานขึ้น เมื่อพื้นหินสะสมความชื้นไว้มากๆ ยิ่งส่งผลให้เกิด การเจริญเติบโตของแบคทีเรียมากขึ้นตาม แม้ในอากาศแห้งและอากาศชื้น ด้วยสาเหตุนี้ยิ่งทำให้เกิด คราบเอฟฟลอเรศเซนซ์มากขึ้น และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ยิ่งมากขึ้นเท่าเพียงใด การเจริญเติบโตของแบคทีเรียก็มากขึ้นเพียงนั้น

อีกอย่างหนึ่งหากพื้นหินมีรอยแตกร้าว นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อกระบวนการขัดพื้นหิน และทำให้ดูเหมือนว่าพื้นหินนั้น ไม่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ดังที่ทราบกันแล้วว่าสารประกอบอัลคาไลน์ (รวมถึงน้ำฝนขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช (ph) เป็นตัวก่อปัญหาใหญ่สำหรับพื้นหินที่ปูไว้ ดังนั้นจำเป็นต้องขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ทันที วิธีการโดยพื้นฐานสำหรับทำความสะอาด ด้วยการใช้กรดนั้น ดังที่กล่าวไว้ในรายละเอียดการเกิดคราบน้ำปูน ส่วนใหญ่รอยด่าง “สีน้ำตาล” สารเคมีที่คุณสมบัติเป็นกรดนั้นไม่ส่งผลใดๆ ในการทำความสะอาด สำหรับปัญหาเหล่านี้ การขจัดคราบด้วยเครื่องจักรกลเท่านั้น ที่จะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาได้

อันที่จริงแล้วปัญหาต่างๆ ของสภาพอัลคาไลน์และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์นั้นก็คือ ทั้งสภาพอัลคาไลน์และคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็ยังมีวิธีที่อาจใช้ลด การก่อตัวของสภาพดังกล่าวและสามารถแก้ปัญหาได้ กล่าวโดยย่อคือ กระบวนการใดก็ตามที่สามารถ ลดปริมาณน้ำได้ในการปฏิบัติงานจะช่วยลดปัญหานี้ได้อีกระดับหนึ่ง หรือไม่ว่าจะเป็นการใช้ลาเท็กซ์ ซึ่งมีคุณสมบัติการเกาะยึดในขั้นตอนของการยาแนวและการเทพื้นปูน แผ่นเยื่อกันน้ำ ทรายล้าง วัสดุกั้นการระเหยของน้ำ หรือรวมถึงน้ำยาซีลเลอร์

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการออกแบบ เช่น ชั้นรองพื้นผิว ท่อราง ฯลฯ ที่ช่วยหลีกเลี่ยงการการไหลผ่านของน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำสามารถซึมผ่านพื้นผิวได้ ก็นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากจะช่วยลดปริมาณน้ำที่อุ้มอัลคาไลน์ไว้ ซึ่งถือเป็นต้นตอของปัญหานี้ น้ำยาซีลเลอร์มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปัญหา แต่มิใช่การระงับปัญหา ปริมาณที่จะซึมเข้าสู่พื้นหิน การเคลือบน้ำยาซีลเลอร์ให้ครบทั้งหกด้านมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่า การทาเพียงด้าน และในการทาน้ำยาซีลเลอร์ ไม่ส่งผลกระทบต่อการเหนี่ยวของแผ่นหินกับปูน หรือปูนกาว น้ำยาซีลเลอร์มีคุณสมบัติในการถ่ายโอนไอน้ำได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นการเคลือบน้ำยาซีลเลอร์จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้มากทีเดียว

ดังนั้นน้ำยาซีลเลอร์นับเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยลดปัญหาการเกิดคราบ จากสารประกอบอัลคาไลน์ อีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้เกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ได้ ด้วยการทำให้ปริมาณน้ำที่จะซึมแทรกเข้าสู่พื้นหิน อิฐ กระเบื้อง ให้มีระดับปริมาณที่น้อยที่สุด นั่นก็คือ การใช้แผ่นเยื่อกันน้ำ การทาลาเท็กซ์ตามรอยแตกของพื้นหินและตามร่องยาแนวให้เรียบร้อย เพราะลาเท็กซ์มีคุณสมบัติในการทำให้พื้นหิน สามารถยืดหยุ่นจากการขยายตัว หดตัวของแผ่นหินได้ อย่างเหมาะสม และวิธีสุดท้ายของการป้องกันนั้น คือการใช้น้ำยาซีลเลอร์ที่มีคุณภาพ เพราะน้ำยาซีลเลอร์ที่มีคุณภาพสามารถสูดดมได้และช่วยลดปริมาณน้ำที่จะซึมเข้าสู่ระบบได้เป็นอย่างดี และนั่นย่อมหมายถึงการป้องกันไม่ให้การเกิดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ เนื่องจากน้ำเป็นสาเหตุของปัญหา ดังนั้นปัญหาต่างๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากเราหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู้พื้นหิน เมื่อน้ำไม่สามารถซึมผ่านเข้าสู้พื้นหินได้ ความชื้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีการดังต่อไปนี้ ควรได้รับการนำไปปฏิบัติในการทำความสะอาดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ และลดโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านเข้าสู่พื้นหิน เราใคร่ขอแนะนำในการดูแลบำรุงรักษาประจำวันนั้น ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหิน มาสเตอร์ สโตน คลีนเนอร์ กับไม้ถูสังเคราะห์ หรือการฉีดสเปรย์ เพื่อขจัดคราบเอฟฟลอเรสเซนซ์ที่เกิดขึ้นซ้ำอีก (ขั้นตอนในช่วงแรกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก) น้ำยาทำความสะอาดชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นกลางด้วยค่าพีเอช (ph) 7.2 นี้จะช่วยปรับสภาพของอัลคาไลน์ ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกนั้น ให้มีสภาพเป็นกลาง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.master.co.th หรือTel. 0 2791 3845 ลิขสิทธิ์ของ Master Resources Co.Ltd

(หมายเหตุ : สภาพเฉื่อย ขยายความได้ว่า “จากกฎการเคลื่อนที่ ข้อที่ 1 คือ ถ้าไม่มีแรงมากระทำกับวัตถุ วัตถุก็จะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมของมันไว้ กล่าวคือ หากเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ หรือถ้าหยุดนิ่งมันก็จะหยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 คือ แรงกับการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ กล่าวคือ หากมีแรงมากระทำสภาพการเคลื่อนที่นี้ก็จะเปลี่ยนหากมีค่ามวลมากสภาพการเคลื่อนที่มาก การที่จะทำให้เปลี่ยนความเร็วก็ต้องใช้แรงมาก ถ้ามวลมากก็ทำให้เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ยาก)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *